สัมมนา การคำนวณแรงลมตามกฎกระทรวง พ.ศ. 2566 และ มาตรฐาน มยผ. 1311 10 ปี แผ่นดินไหวแม่ลาว การเตรียมพร้อมรับมือภัยแผ่นดินไหวจากอดีตถึงปัจจุบัน การติดตั้งระบบตรวจสอบโครงสร้างอาคารระยะยาว การเสริมกำลังอาคาร
กฎกระทรวงฉบับที่ 6 (พ.ศ.2527) ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ที่ยังมีผลบังคับใช้ ในปัจจุบันได้กำหนดค่าหน่วยแรงลมที่กระทำกับอาคารเปลี่ยนแปลงตามความสูงของอาคารแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบที่เกิดจากปัจจัยอื่น ดังนั้น กระทรวงมหาดไทย โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้ดำเนินการจัดทำ กฎกระทรวงฉบับใหม่ ซึ่งในเรื่องการคำนวณแรงลมได้เสนอการคำนวณแรงลมตามมาตรฐานว่าด้วยการคำนวณแรงลมและการตอบสนองสนองของอาคารสำหรับประเทศไทย (มยผ.1311-50) กฎกระทรวงดังกล่าว ได้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่ เดือนมีนาคม 2567 กฏกระทรวงฉบับใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานแรงลมภายในประเทศให้ทันสมัยและมีความถูกต้องสมบูรณ์ทัดเทียมกับมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการทำให้มาตรฐานวิชาชีพเป็นที่ยอมรับในประชาคมวิชาชีพระหว่างประเทศในยุคโลกาภิวัฒน์ มาตรฐานฉบับใหม่นี้ได้คำนึงถึงความเร็วลมอ้างอิงในเขตต่าง ๆ ลักษณะภูมิประเทศ รูปร่างของอาคาร และคุณสมบัติทางพลศาสตร์ของอาคาร เป็นต้น ซึ่งเป็น รูปแบบของมาตรฐานการคำนวณแรงลมที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
นอกจากนี้ ปัจจุบันกฎหมายและมาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหวในประเทศไทยได้รับการปรับปรุงและแก้ไขให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในปัจจุบันยิ่งขึ้น โดยมี
ก) กฎกระทรวง กำหนดการรับน้ำหนัก ความต้านทานความคงทนของอาคาร และพื้นดินที่รองรับอาคารในการ
ต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว พ.ศ.2564
ข) ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การออกแบบและคำนวณโครงสร้างอาคาร เพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนของ
แผ่นดินไหว พ.ศ.2564 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 10 พฤศจิกายน. 2564
ค) มาตรฐานการออกแบบอาคารต้านทานการสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว (มยผ.1301/1302-64)
ง) มาตรฐานการออกแบบอาคารเหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เพื่อต้านทานแรงสั่นสะเทือนของแผ่นดินไหว
(มยผ.1304-64)
ดังนั้น เพื่อให้วิศวกรและผู้ที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ถึงเนื้อหาที่สำคัญ การเตรียมพร้อมรับมือแผ่นดินไหวและแรงลม และเป็นแนวทางให้ปฏิบัติตามกฎกระทรวงและประกาศกระทรวงมหาดไทย รวมทั้ง มาตรฐานฉบับใหม่นี้ได้อย่างถูกต้อง คณะอนุกรรมการสาขาผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม จึงร่วมกันจัดการสัมมนานี้เพื่อเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวขึ้น
วิทยากร
– ศ.ดร.เป็นหนึ่ง วานิชชัย
ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ
ที่ปรึกษา คณะอนุกรรมการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม วสท.
– ศ.ดร.วิโรจน์ บุญญภิญโญ
ประธาน คณะอนุกรรมการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม วสท.
– รศ.ดร.สุทัศน์ ลีลาทวีวัฒน์
คณะกรรมการ ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม วสท.
– รศ.ดร.ธีรพันธ์ อรธรรมรัตน์
คณะกรรมการ ศูนย์วิจัยแผ่นดินไหวแห่งชาติ
คณะอนุกรรมการผลกระทบจากแผ่นดินไหวและแรงลม วสท.